วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี | วิทยาศาสตร์สุขภาพ | สังคมศาสตร์ | มนุษยศาสตร์ | ศิลปกรรมศาสตร์ | รับใช้สังคม |
ประวัติอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขารับใช้สังคม |
ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2530 มัธยมศึกษาจากโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2534 ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาเกษตรศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2535 ได้รับทุนไปฝึกงานประเทศสวีเดน โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาเกษตรศาสตร์นานาชาติ (IAAS) พ.ศ. 2537 ระดับปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาสัตวศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2545 ระดับปริญญาเอก Doctor of Philosophy (Ruminant Nutrition) Universiti Putra Malaysia ประเทศ มาเลเซีย ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2538-2540 ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2541-2547 โอนย้ายไปทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. 2548 ด้วยภาระที่มีครอบครัว (ภรรยาและลูก) อยู่ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานีจึงขอโอนย้ายไปทำงานในตำแหน่งอาจารย์ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี พ.ศ. 2550-ปัจจุบัน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตำแหน่งทางบริหาร พ.ศ. 2545-2547 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต คณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. 2557-2559 รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา คณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2550-2551 รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2555-2557 คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลงานดีเด่น จากการที่อาจารย์โอภาส พิมพา ได้ทำหน้าที่ตั้งแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและอาจารย์ จนถึงทำงานบริหารในมหาวิทยาลัยของภูมิภาค ที่มีที่ตั้งอยู่ในภาคอีสาน ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ตามลำดับ ได้ใช้ประสบการณ์การทำงานในรูปแบบบูรณาการทั้งด้านวัฒนธรรม ประเพณี และนำเอาแนวทางการประกอบอาชีพของประชาชนในแต่ละพื้นที่มาใช้ในการสอน-การวิจัยแก้ปัญหา และนำมาบริการวิชาการต่อเนื่อง โดยยึดหลักการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” ตามวิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยตลอด 22 ปีของการทำงานได้ทุ่มเทอุทิศตนให้กับการรับใช้สังคมในด้านวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ได้เกิดความผูกพันกับวิถีชีวิตของเกษตรกรโดยเฉพาะในระยะ 5 ปีหลังสุดได้มีการเพิ่มกิจกรรมพัฒนาอาชีพของชุมชนมากขึ้นตามความต้องการของประชาชน จึงต้องเพิ่มภาระงานด้วยหัวใจที่มุ่งมั่นนอกจากการสอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทรวมทั้งทำหน้าที่ให้คำปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกแล้ว มาสร้างทีมวิจัยในสาขาเกษตรศาสตร์โดยมีตำแหน่งหัวหน้าหน่วยวิจัยปาล์มน้ำมัน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้นำปัญหาของชุมชนมาเป็นโจทย์วิจัยที่มีผลงานวิจัยจำนวน 26 โครงการ มีบทความวิจัยและบทความวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ยังนำผลงานที่ศึกษาวิจัยจำนวนกว่า 30 องค์ความรู้ ไปถ่ายทอดขยายผลสู่สังคมในรูปแบบต่างๆ เช่นทำหน้าที่ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการให้สถาบันต่างๆ และทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาองค์กรที่สำคัญ เช่น สภาเกษตรกรแห่งชาติ ในคณะกรรมการปศุสัตว์ ผู้ทรงคุณวุฒิกลุ่มจังหวัด และจังหวัดในภาคใต้ ที่ปรึกษาชมรม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในการประกอบอาชีพของประชาชน ทำหน้าที่วิทยากรการอบรม ออกพื้นที่บริการวิชาการในพื้นที่ภาคใต้ มากกว่า 100 ครั้งในระยะ 5 ปีหลัง โดยเฉพาะในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และลงไปถึงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหัวข้อการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการประกอบอาชีพและการประยุกต์หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จากผลงานเด่นได้มีการสร้างเครือข่ายบริการวิชาการโดยการพัฒนาคน พัฒนาหลักคิดของคนในชุมชน อาศัยเครื่องมือคือความรักและความเป็นมิตร จนส่งผลดีต่อสังคมในเชิงนโยบายและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงไปในภาพรวมในการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ของชุมชนได้ จากการติดตามประเมินผลการทำงานเพื่อสังคมจนเห็นประโยชน์ของกิจกรรมต่างๆ โดยส่วนหนึ่งเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมจาก ผลงาน 1. รางวัลนักวิจัยดีเด่น ของคณะเทคโนโลยีและการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2550 และปี 2552
|